วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ปิดคอร์ส

ปิดคอร์สแล้ววว...
  • ขอบคุณอาจารย์บาสมากๆค่ะ ที่คอยสอนในเรื่องต่างๆ คอยให้คำปรึกษา คอยเอาใส่ใจนักศึกษาทุกคน อาจารย์เป็นกันเองมาก คุยเล่นกับนักศึกษาถึงบางครั้งจะมีงานมาให้ทำเยอะไปหน่อยแต่ถือเป็นเรื่องที่ดีมากค่ะ เพราะอาจารย์อยากให้นักศึกษาได้รู้ถึงเทคนิคในการทำศิลปะต่างๆ ได้เรียนกับอาจารย์ทำให้มีความสุข สนุกไม่เครียด มีความสุขทุกครั้งที่ได้เรียน ยิ่งตอนเรียนทุกลูกชุบยิ่งมีความสุขม๊ากกก (หร๊าาา) 555 อาจารย์คุยเล่น แซวเล่นกับนักศึกษาได้ ไม่ถือตัว ในบางครั้งหนูอาจจะแซวแรงเกินไปหน่อย ชอบคุยในห้องเรียน ต้องขอโทดอาจารย์ด้วยค่ะ สุดท้ายนี้ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะสำหรับทุกอย่าง ได้ให้ความรู้ ให้เทคนิคต่างๆ ให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องเป็นอย่างดี แล้วมาสอนพวกเราอีกนะค่ะ อิอิ
LOVE YOU All ...

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สิ่งประดิษฐ์สอนศิลป์

สิ่งประดิษฐ์สอนศิลป์

ชื่อผลงาน กระดิ่งกรุ๊งกริ๊ง
วัสดุ/อุปกรณ์
1. แก้วกระดาษเหลือใช้หรือแก้วใส่ไอศกรีม
2. ไหมพรมสีต่างๆ
3. ลูกกระพรวนขนาดต่างๆ
4. วัสดุตกแต่ง เช่น ลูกปัด เชือกสายรุ้ง ฯลฯ
ขั้นตอนการทำ
  • นำแก้วกระดาษหรือแก้วใส่ไอศกรีมมาล้างทำความสะอาดและนำไหมพรมสีต่างๆที่เราชอบมาพันให้รอบแก้ว
  • ตกแต่งตัวแก้วด้านนอกให้สวยงามโดยใช้วัสดุตกแต่ง เช่น ลูกปัด เชือกสายรุ้ง ฯลฯ ตามที่ต้องการ
  • จากนั้นนำเชือกปอมาร้อยที่ลูกกระพรวนแล้วสอดเชือกปอร้อยเข้าไปในถ้วย 
ผลงานที่เสร็จแล้ววววว....
  • ในสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ เราให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องของเสียง บูรณาการกับวิชาวิทยาศาสตร์ได้ โดยการที่นำลูกกระพรวนที่มีขนาดแตกต่างกันใส่เข้าไปในแก้วแล้วให้เด็กลองฟังเสียง ว่าถ้าลูกกระพรวนมีขนาดใหญ่นั้นเสียของมันจะเป็นอย่างไร และถ้าลูกกระพรวนมีขนาดเล็กเสียของมันจะดังอย่างไร

กิจกรรม ปั้นดินน้ำมันใส่กล่อง CD

กิจกรรม ปั้นดินน้ำมันใส่กล่อง CD
วัสดุ/อุปกรณ์
1. ดินน้ำมัน
2. กล่องCD ใส
3. น้ำยาทาเล็กแบบใส
ขั้นตอนการทำ
  • จินตนาการรูปภาพตามที่เราต้องการ
  • ปั้นดินน้ำมันตามรูปภาพที่เราต้องการแล้วนำมาแปะใส่ในกล่องCDใส
  • กดดินน้ำมันให้เรียบ ถ้าไม่เรียบจะปิดกล่องCD ไม่ได้
  • นำน้ำยาทาเล็บสีใสมาทาเคลือบที่ดินน้ำมัน ทา2-3 รอบเพื่อให้ขึ้นเงา จากนั้นปล่อยให้แห้ง

สัปดาห์ที่ 14

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ฤกตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันจันทร์ที่ 27 เมษายม 2558
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 8.00-10.10 ห้อง 223
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ให้จัดนิทรรศการศิลปะสร้างสรรค์ 

ผลงานที่ได้ทำมาตั้งแต่คาบแรกยันคาบสุดท้าย
เพื่อนๆนำเสนอสิ่งประดิษฐ์สอนศิลป์
  • การนิทรรศการศิลปะ หมายถึง การนำผลงานศิลปะแขนงต่างๆให้คนทั่วไปได้ชม เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ชมได้รับความรู้ ความเข้าใจ มีโอกาสชื่นชมกับผลงานที่นำมาแสดง เป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
รูปแบบของการจัดนิทรรศการศิลปะ
นิทรรศการศิลปะที่นิยมจัดกันโดยทั่วไป แบ่งรูปแบบการจัดได้เป็น 3 แบบ คือ
  1. นิทรรศการถาวร เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงไว้เพื่อให้ประโยชน์ต่อผู้เข้าชมได้ในเวลายาวนาน ติดตั้งจัดแสดงไว้อย่างมั่นคง ได้แก่ การจัดนิทรรศการของหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ต่างๆ  ซึ่งได้รวบรวมผลงานทางศิลปะ แสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ไว้เพื่อให้สาธารณชน ศึกษาได้ตลอดไป
  2. นิทรรศการชั่วคราว เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงเรื่องราวเฉพาะกิจ ในโอกาสพิเศษบางโอกาส จะใช้เวลาสั้นๆ  ไม่กี่วัน หรือ 2 – 3 สัปดาห์ การเผยแพร่ความรู้ ข่าวสาร หรือ ประชาสัมพันธ์เรื่องต่างๆ การจัดนิทรรศการวันสำคัญต่างๆ หน่วยงานทางราชการ บริษัท และสถานศึกษา นิยมจัดนิทรรศการประเภทนี้เพราะเป็นการประชาสัมพันธ์ ให้ข่าวสารความรู้ได้เป็นอย่างดี
  3. นิทรรศการเคลื่อนที่ เป็นนิทรรศการที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดคล้ายกับนิทรรศการชั่วคราว หรือบางคราวก็นำนิทรรศการชั่วคราวไปแสดงเคลื่อนที่ยังสถานที่ต่างๆ  เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สนใจโดยทั่วไป
จุดมุ่งหมายในการจัดนิทรรศการศิลปะ
  1. เพื่อเผยแพร่ผลงานศิลปะ 
  2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความประทับใจ ด้านศิลปะแก่ผู้ชม 
  3. เพื่อเพิ่มพูนพัฒนา ความรู้ ทักษะทางศิลปะแก่ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ 
  4. เพื่อเป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ 
  5. เพื่อพัฒนา ประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้จัดนิทรรศการ
สถานที่ในการจัดนิทรรศการศิลปะ
ควรเป็นสถานที่ซึ่งคนส่วนใหญ่รู้จัก เดินทางสะดวกหรือเลือกสถานที่ให้เหมาะสมกับเรื่องราวที่จะจัดนิทรรศการนั้นๆสถานที่จัดนิทรรศการ สามารถแยกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
  1. การจัดภายนอกหรือกลางแจ้ง ได้แก่ การจัดนิทรรศการที่จัดขึ้นบริเวณที่ว่าง เช่น ลานนอกอาคาร สนามหญ้าระเบียง การจัดนิทรรศการภายนอกใช้จัดกับสิ่งของ เรื่องราวและตัวอย่างงานที่มีขนาดใหญ่ หรือเรื่องที่จัดขึ้นบางครั้งก็มีการจัดสาธิตประกอบ ซึ่งไม่เหมาะที่จะจัดภายในอาคาร
  2. การจัดภายในหรือในร่ม ได้แก่ การจัดนิทรรศการที่จัดขึ้นในห้องต่างๆ  เช่น ห้องเรียน ห้องโถงกว้างๆ  หรือห้องนิทรรศการโดยเฉพาะ การจัดนิทรรศการภายในใช้กับสิ่งของที่ต้องจัดเป็นสัดส่วน เหมาะสมกับการจัดเฉพาะในร่ม ตลอดจนการดูแลรักษาอาจเป็นระยะเวลายาวนาน และสิ่งของที่นำมาจัดนั้นมีค่าควรอยู่ภายในร่มมากกว่าภายนอกหรือกลางแจ้ง
ขั้นตอนจัดแสดงนิทรรศการศิลปะ
การจัดแสดงนิทรรศการศิลปะ จำเป็นต้องมีการวางแผนงาน เตรียมการ ดำเนินการ และวัดผลประเมินผลจนครบวงจร ซึ่งมีขั้นตอนการจัดนิทรรศการศิลปะโดยทั่วไป ดังนี้
  1. การกำหนดวัตถุประสงค์และวางแผน ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด นั่นคือการเขียนโครงการจัดนิทรรศการ ซึ่งประกอบด้วยหลักการและเหตุผล (ประโยชน์และความจำเป็น) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย (เชิงปริมาณและคุณภาพ) ขั้นตอนการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา สถานที่ งบประมาณ การวัดผลประเมินผลและผลที่คาดว่าจะได้รับ (เมื่อสิ้นสุดโครงการ)
  2. การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดนิทรรศการ โดยมีตำแหน่งประธาน รองประธาน เลขานุการ และกรรมการฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายสถานที่ พิธีการ ต้อนรับ การเงิน ประชาสัมพันธ์ โสตทัศนูปกรณ์ เป็นต้น 
  3. การเตรียมผลงานศิลปะ หรือการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเตรียมจัดแสดง รวมทั้งการติดการ์ด หรือใส่กรอบผลงาน 
  4. การประชาสัมพันธ์ เป็นการเชิญชวนให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนไปร่วมชมนิทรรศการทั้งในรูปแบบของการจัดทำแผ่นพับ โปสเตอร์ บัตรเชิญ ป้ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สื่อมวลชน 
  5. การเตรียมสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ เป็นการจัดเตรียมสถานที่ แสง เสียง บอร์ดแสดงผลงาน ไม้ประดับ โต๊ะ เก้าอี้ ริบบิ้นเปิดงาน สมุดเซ็นเยี่ยม และวัสดุอุปกรณ์ อื่นๆ 
  6. การจัดงานและพิธีการ เป็นการจัดกำหนดการพิธีการ และดำเนินการเปิดงานแสดงนิทรรศการ เช่น จัดทำ กำหนดการ คำกล่าวรายงาน คำกล่าวเปิดการนำชม การแสดงและการสาธิตผลงาน เป็นต้น 
  7. การวัดผลประเมินผลเป็นขั้นสุดท้ายที่ต้องการทราบผลการจัดนิทรรศการว่าบรรลุผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการหรือไม่ซึ่งสามารถวิเคราะห์จากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ชม จากสมุดเยี่ยมชม และจากที่ประชุมของคณะกรรมการ
หลักการจัดนิทรรศการศิลปะ
การจัดนิทรรศการศิลปะมีหลักในการจัด ดังนี้
1. การติดภาพหรือตัวอย่างผลงาน
  • ภาพหรือตัวอย่างผลงานที่สำคัญ ควรจัดแยกจากภาพอื่นๆ โดยเน้นให้เด่นชัดและควรมีขนาดใหญ่โตกว่าภาพอื่นๆ  เพื่อดึงดูดความสนใจ 
  • ใช้สีตกแต่งให้น่าสนใจ โดยเฉพาะภาพที่ไม่มีสี ควรใช้สีมาช่วยเน้นให้สดใส เด่นชัดมากขึ้นด้วยการเน้นพื้นหรือกรอบภาพ
  •  ภาพหรือตัวอย่างผลงาน ไม่ควรมีมากเกินไป ควรคัดเลือกเฉพาะภาพที่จำเป็นและมีความสำคัญมาจัดแสดง
2. การเขียนตัวอักษร
การจัดนิทรรศการบางครั้งต้องใช้ตัวหนังสือเพื่ออธิบายให้ผู้ชมได้เข้าใจ โดยมีหลักในการเขียนดังนี้
  • ควรเขียนให้อ่านได้สะดวกในระยะห่าง 12 – 15 ฟุต
  • ความยาวของข้อความอ่านได้ตามสบายในเวลา ประมาณ 15 – 30 วินาที
  • ความสูงของตังอักษรประมาณ 1 – 3 นิ้ว ส่วนหัวเรื่องควรใหญ่กว่าตัวอื่นๆ
  • ควรใช้ภาษาแบบง่ายๆ  อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที 
  • แบบของตัวอักษรควรเป็นแบบราชการ หรือ แบบที่อ่านง่าย และควรใช้เป็นแบบเดียวกันจะดูดีกว่าหลายๆ แบบ
  • สีของตัวอักษรกับพื้นหลังให้ติดกัน เพื่อสะดวกในการอ่าน
3. การจัดวางสิ่งของเพื่อจัดแสดง
  • ผลงานบางชนิดนำมาตั้งหรือวางเพื่อแสดง ได้แก่ งานประติมากรรมหรือสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ  อาจเป็นการตั้งกลางแจ้งหรือในร่มตามความเหมาะสมถ้าเป็นงานขนาดใหญ่ต้องตั้งในบริเวณพื้นที่กว้างมากๆ  งานขนาดเล็กอาจตั้งวางบนโต๊ะก็พอ
  • ผลงานบางอย่างต้องใช้แขวนหรือห้อยเพื่อให้เกิดความน่าสนใจสร้างบรรยากาศของงานให้เป็นไปในอีกลักษณะหนึ่งควรแขวนให้อยู่ในระดับสายตาหรือสูงกว่าเล็กน้อย
บรรยากาศการจัดนิทรรศการศิลปะสร้างสรรค์

ประเมินหลังการเรียนการสอน
 ตนเอง : มาตรงเวลาช่วยเพื่อนจัดชิ้นงาน ช่วยเพื่อนจับผ้า ช่วยเพื่อนถ่ายรูปต่างๆ ออกความคิดเห็นในการวางชิ้นงาน มีชิ้นงานมาครบทุกงาน
 เพื่อน : มาตรงเวลา ร่วมด้วยช่วยกันจัดนิทรรศการให้สมบูรณ์ มีการออกความคิดเห็นเรื่องต่างๆ ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีการช่วยเหลือกันพึ่งพาอาศัยกัน
อาจารย์ : มาตรงเวลา ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดนิทรรศการศิลปะอย่าละเอียด เพื่อให้ได้นำไปใช้ในอนาคต ใส่ใจรายละเอียดต่างๆ มีคำแนะนำดีมาบอก

สัปดาห์ที่ 13

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ฤกตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันพุธที่ 22 เมษายน 2558
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 8.30-10.10 ห้อง441
ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มทดลองสอนศิลปะสร้างสรรค์ เป็นการสอนแบบกลุ่มก่อน มีทั้งหมด 5 กลุ่ม 
กลุ่มที่ 1 หน่วยยานพาหนะ >>> โดยมีกิจกรรมพิเศษคือ เพ้นท์ก้อนหินเป็นรูปยานพาหนะ
กลุ่มที่ 2 หน่วยสัตว์ (กลุ่มของดิฉัน) >>> โดยมีกิจกรรมพิเศษคือ ไม้ไอศกรีมหรรษา
กลุ่มที่ 3 หน่วยข้าว >>> โดยมีกิจกรรมพิเศษ คือ ปะ ติดเมล็ดข้าว
กลุ่มที่ 4 หน่วยกล้วย >>> โดยมีกิจกรรมพิเศษ คือ พิมพ์ภาพจากก้านกล้วย
กลุ่มที่ 5 หน่วยธรรมชาติรอบตัว 
บรรยากาศในการทดลองสอน
ในการสอนศิลปะสร้างสรรค์ คนเป็นครูต้องมีน้ำเสียงที่ชัดเจน เสียงดัง และมีวิธีการเก็บเด็ก
  • ขั้นนำ อาจจะใช้เป็นเพลง เกม เพื่อเร้าความสนใจเด็กก่อนการทำกิจกรรม และการนำเข้าสู่กิจกรรมต้องมีการสาธิตกิจกรรมพิเศษเพื่อให้เด็กเห็นและทำเป็น ในการแบ่งเด็กเราสามารถแบ่งเด็กได้โดยการเล่นเกมจับกลุ่ม การเลือกตามความสนใจ และการนับตามชื่อหน่วย เมื่อเด็กทำกิจกรรมเสร็จครูบันทึกคำพูดที่เด็กเล่า ถ้าเด็กเล่าเร็วจนครูจดไม่ทัน จะต้องสรุปให้ได้ว่าเด็กเล่าว่าอะไร ให้เด็กวนทำกิจกรรม กลุ่มไหนเต็มให้ไปกลุ่มที่ว่างแทน การนำเสนองานหน้าห้อง ให้ดูจากผลงานที่แตกต่างจากเด็กคนอื่น สังเกตความมั่นใจของเด็ก ให้เด็กนำเสนอทุกกิจกรรม แต่จะเน้นกิจกรรมพิเศษมากกว่ากิจกรรมอื่น ในการเขียนแผนนั้นยังไม่เจาะลึกมาก โดยจะมีการร้องเพลงเพื่อเข้าสู่กิจกรรม การใช้คำศัพท์ให้ถูกต้อง การอธิบายผลงานเด็กควรเขียนให้เรียบร้อยเป็นระเบียบ ปากกาที่เขียนควรมีสีเข้ม ไม่ควรใช้ดินสอในการเขียน การให้เด็กมาเล่าสิ่งที่ตัวเองวาดถ้าเด็กมากันเยอะๆควรให้เด็กต่อเข้าแถว ถ้ากิจกรรมไหนที่ใช้เวลาในการทำเยอะ ควรหาโต๊ะเพิ่มเพื่อเป็นการกระจายให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เมื่อทำกิจกรรมเสร็จอาจจะเก็บอุปกรณ์ก่อนแล้วค่อยให้เด็กนำเสนอ หรือ ให้เด็กนำเสนอก่อนแล้วค่อยมาเก็บอุปกรณ์ที่หลัง
การนำความรู้ไปใช้
1. สามารถนำกิจกรรมพิเศษของหน่วยต่างมาใช้ได้ในอนาคต
2. รู้ถึงเทคนิคในการสอนต่าง วิธีการเก็บเด็ก วิธีการแบ่งเด็กในการทำกิจกรรม เพื่อนำไปปรับใช้ได้

ประเมินหลังการเรียนการสอน
 ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนบ่อย มีอาการเหนื่อยบ้างเพราะลงไปเป็นเด็กเกือบทุกกลุ่ม แต่โดยรวมส่วนมากดี
 เพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา กล้าแสดงออก สอนดีทุกกลุ่มเลย มีกิจกรรมที่หลากหลายมากให้ทำ แต่บางกลุ่มอาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นนิดหน่อย มรความสามัคคีร่วมกิจกรรมกับเพื่อนในห้อง
 อาจารย์ : มาสอนตรงเวลา เตรียมอุปกรณ์ในการสอนมาให้พร้อม มีคำแนะนำต่างๆในการสอนครั้งนี้ มีเทคนิคการสอนศิลปะในเด็กสนุกช่วยเหลือนักศึกษาทุกอย่าง เอาใส่ใจทุกรายละเอียด

สัปดาห์ที่ 12

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ฤกตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันพุธและวันพฤหัสบดีที่ 8,9 เมษายน 2558
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 8.30-10.10 ห้อง 441
ความรู้ที่ได้รับ 
          ในวันพุธที่ 8 เมษายน 2558 นั้นเนื่องจากอุปกรณ์ในห้องเรียนไม่เอื้ออำนวย ทำให้การเรียนการสอนในวันนั้นค่อนข้างลำบาก อาจารย์เลยแค่ชี้แจ้งวันสอบแผนกลุ่ม วันสอบแผนเดียวหรือสอบปลายภาค และวันจัดนิทรรศการศิลปะ จากนั้นก็ปล่อยให้นักศึกษากลับไปเขียนแผนให้เสร็จ
           ในวันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2558 วันนี้อาจารย์ให้แต่ละคนนำเสนอแผนการสอน แต่เพื่อนทั้งห้องนั้นเขียนแบบฟอมร์มาเหมือนกับอาจารย์ เลยให้นำเสนอแค่คนเดียว เพื่อนๆที่เหลือนั้นอาจาร์จะเอาไปอ่านเอง และนำรูปแบบการประเมินต่างๆมาให้ดูเป็นตัวอย่าง อีกทั้งอาจารย์ยังนำแผ่นการวางแผนการทำงานศิลปะ สำหรับเด็กที่ต้องทำงานตามที่ตัวเองได้วางแผนไว้
รูปแบบการประเมินต่างๆ
แผ่นวางแผนการทำงาน

การนำความรู้ไปใช้
1. สามารถนำแผนการสอนที่เราเคยเขียนมานั้น มาปรับประยุกต์ให้เข้ากับวัยและพัฒนาการของเด็ก
2. สามารถเลือกการประเมินต่างๆมาประเมินเด็กได้ ให้เหมาะสมกับกิจกรรมนั้น

ประเมินหลังการเรียนการสอน
 ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา มีคุยบ้างนิดหน่อย แต่ตั้งใจฟังอาจารย์จดความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอน
 เพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน มีการจดบันทึกเพิ่มเต้มในสิ่งที่ตัวเองยังไม่รู้ ให้ความสนใจในสื่อที่อาจารย์เตรียมมา
 อาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา ตั้งใจสอนเตรียมเนื้อหาการสอนมาเป็นอย่างดี บอกรายละเอียดครบถ้วน ให้ความสนใจกับนักศึกษาเป็นอย่างมาก