วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 2

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันพุธที่ 21 มกราคม 2558
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30 - 10.10 น. ห้อง 441
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมมาให้ทำ กิจกรรมมือน้อยสร้างสรรค์
กิจกรรมนี้เพื่อฝึกให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์เรียนรู้เรื่องสีต่างๆในตอนแรกอาจจะยังไม่ให้เด็กวาดรูปมือ ครูอาจให้วาดแต่ขีดๆเขียนให้มีเส้นที่ทับกัน หรือวาดรูปวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ให้ทับกันก็ได้ แล้วค่อยให้เด็กวาดรูปมือตนเองลงไป สามารถนำไปสอนในหน่วยของร่ายกายได้

ชื่อภาพ มือเปื้อนสี
จากนั้นให้นำผลงานออกมาติดเรียงกันหน้าห้องเพื่อให้ทุกคนได้โชว์ผลงานของตนเอง
อาจารย์ให้นำผลงานของตนเองกลับไปตัดกรอบออกแล้วให้มาติดเรียงกันใหม่ เวลาที่รูปของทุกคนมารวมกันแบบไม่กรอบนั้นสวยงามมาก อาจจะใช้เป็นแบล็คกราวให้การถ่ายรูปก็เก๋ไปอีกแบบ

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม 2558
เวลาเรียน 12.20 - 15.00น. ห้อง  223
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เรียนเรื่อง การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ศิลปะ คือ งานช่างฝีมือเป็นงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นด้วยความประณีต วิจิตรบรรจง **งานศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเป็นผลงานที่มนุษย์ใช้ปัญญา ความศรัทธา และความพากเพียรพยายามสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่
ตัวอย่างเช่น 
เทคนิคการจุดสี
จิตรกรรม >>> การวาดภาพต่างๆ Cick
ประติมากรรม >>> การปั้น Cick
สถาปัตยกรรม >>> สิ่งก่อส้ราง Cick
** การสร้างสำหรับเด็ก เช่น ต่อบล็อก จิ๊กซอหรือหุ่นเลโก้
** "ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความงามและความพึงพอใจ"
ความหมายของศิลปะสำหรับเด็ก
ครูที่จะสอนศิลปะเด็กต้องมุ่งเน้นดังต่อไปนี้
  • มุ่งสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
  • เป็นเครื่องมือในการแสดงออก และใช้ความคิดสร้างสรรค์
  • ให้ความสำคัญกบักระบวนการสร้างสรรค์งาน
  • เน้นความไวในการรับรู้ด้านอารมณ์ ความคิดจากสิ่งที่มองเห็น
  • ความรู้สึกที่มีอยู่เบื้องหลังผลงาน
  • สนับสนุนให้เรียนรู้ด้วยการค้นคว้าทดลองสิ่งใหม่ๆ
  • นำไปใช้พัฒนาชีวิตด้านอื่นๆได้
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ
  • ทฤษฎีพัฒนาการ
         - พัฒนาการทางศิลปะของโลเวนเฟลด์ (Lowenfeld) : Cick
  • ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
          - ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอรด์ (Guilford) : Cick
          - ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance) : Cick
          - ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ (สมองสองซีก) : Cick
          - ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (Gardner) : Cick
          - ทฤษฎีโอตา (Auta) : มีลำดับพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ การตระหนัก ความเข้าใจ เทคนิควิธี และการตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ

การนำความรู้ไปใช้
1. สามารถนำทฤษฎีไปเป็นแนวทางศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยได้ในอนาคต
2. สามารถนำกิจกรรมมาประยุกต์ใช้กับหน่วยกาเรียนรู้ต่างๆได้
3. รู้ถึงความหมายของศิลปะเพิ่งมากขึ้นและทำให้จัดกิจกรรมให้เด็กง่ายมากขึ้นด้วย

ประเมินหลังการเรียนการสอน
 ตนเอง : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมาย ในวันที่ 2 เรียนเกี่ยวกับทฤษฎีมีคุยกับเพื่อนบ้างนิดหน่อย มีการจดบันทึกเพิ่มเติมจากเนื้อหาที่อาจารย์สอน
 เพื่อน : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายมีความคิดที่หลากหลายไม่ซ้ำกันในการทำกิจกรรม การตอบคำถามภายในห้อง ตั้งใจจดเนื้อหาเพิ่มเติมจากสิ่งที่มีในเนื้อหา มีคุยกันบ้างนิดหน่อย
อาจารย์ : มีกิจกรรมดีๆมาให้ทำ มีเนื้อหาที่ละเอียดและเตรียมตัวในการสอนมาเป็นอย่างดีมีรูปภาพประกอบการสอนมาให้นักศึกษาเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น มีเทคนิคต่างๆเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมศิลปะมาแนะนำ

สัปดาห์ที่ 1

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันพุธที่ 14 มกราคม 2558
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 08.30 - 10.10 น. ห้อง 441
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ให้ดูวิดีโอ ด.เด็กช.ช้าง
เมื่อดูวิดีโอแล้วเราได้ข้อคิดอะไรจากวิดีโอนี้ เรื่องการสอนศิลปะควรเปิดกว้างให้เด็กได้คิดไม่ควรปิดกั้นความคิดของเด็กและครูควรยอมรับในความสามารถของเด็กแต่ละคนเพราะเด็กแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน การทำงานศิลปะไม่ควรทำตามแบบใคร ในการที่เด็กทำงานศิลปะนั้นเด็กสามารถให้เพื่อนช่วยได้ ในการวาดภาพศิปะนั้นไม่ควรใช้ยางลบ เพราะจะฝึกความกล้าตัดสินใจ มั่นใจและมั้นคงให้กับเด็ก ในระหว่างที่ให้เด็กสร้างชิ้นงานนั้น ครูที่ดีต้องเดินดูเด็กเพื่อนให้เห็นพฤติกรรมต่างๆของเด็กแต่ละคน เห็นขั้นตอนการทำงาน การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน เห็นกระบวนการทำชิ้นงานของเด็กว่าเด็กแต่ละคนนั้นทำชิ้นงานเองจริงๆ ครูสามารถช่วยเด็กได้ในบางโอกาสเท่านั้น ในเรื่องการประเมินผลงานเด็ก ครูต้องดูที่ความแตกต่างระหว่างบุคคล ต้องประเมินจากกระบวนการทำ ความตั้งใจพัฒนาการวาดภาพ

จากนั้นอาจารย์ได้มีกิจกรรมให้ทำ เป็นกิจกรรมวาดภาพตนเองตามจินตนาการ

ชื่อภาพ ผู้ชายในฝัน
เมื่อทุกคนวาดเสร็จแล้วอาจารย์ให้นำผลงานออกมาติดหน้าห้อง ตอนแรกอจารย์ให้ติดตามใจเลยว่าจะติดแบบไหนก็ได้
ต่อมาอาจารย์บอกว่า หากให้เด็กติดผลงานให้ติดตามลำดับด้วยเริ่มจากซ้ายมือ หรือทำสัญลักษณ์ไว้ให้เด็กติดตามในช่วงแรกๆ ก่อนที่จะให้เด็กติดผลงาน ครูควรให้เด็กอธิบายหรือเล่าให้ฟังว่าสิ่งที่เด็กวาดนั้นหมายถึงอะไร เพราะ สิ่งที่ครูใองเห็นกับสิ่งที่เด็กคิดนั้นอาจไม่เหมือนกันก็ได้ หรือครูควรใช้คำถาม ถามเด็กเมื่อเขาเอาผลงานมาส่ง เช่น เล่าให้ครูฟังหน่อย ครูควรใช้คำถามปลายเปิดและต้องกระตุ้นให้เด็กอยากตอบ

 วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 2558
เวลาเรียน 12.20 - 15.00 น. ห้อง 223

ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมกลุ่มให้ทำ คือ ทำข้อสอบ Pretest  โดยอาจารย์ให้สมาชิกในกลุ่มเดินออกไปหยิบอุปกรณ์การทำทีละคน เพราะว่า เวลาเราจัดกิจกรรมให้เด็ก เด็กจะได้มีส่วนร่วมในการหยิบอุปกรณ์ครบทุกคน

บรรยายการศการทำงาน

กลุ่มดิฉัน : มีการใช้รูปภาพแทนตัวอักษรทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น มองเห็นสิ่งที่เราจะสื่อได้ชัดเจน

การนำเสนอของเพื่อน

การนำรู้ความไปใช้
1. สามารถนำเทคนิคการสอนไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกิจกรรมต่างๆได้
2. สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการเป็นครูที่ดีมาปรับใช้กับตนเองได้
3. สามารถนำการประเมินผลงานเด็กไปสังเกตเด็กในขณะทำกิจกรรมได้

ประเมินหลังการเรียนการสอน
ตนเอง : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้แต่ได้ให้เพื่อนช่วยบ้างนิดหน่อยเพราะตนเองวาดรูปไม่ค่อยเก่ง มีคุยกับเพื่อนบ้าง ในการทำงานกลุ่มมีช่วยเพื่อนคิดบ้างนิดหน่อย แต่ส่วนมากจะหนักไปทางตกแต่งผลงาน
เพื่อน : ตั้งใจทำกิจกรรมกันดี มีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นภายในห้องเรียน ตั้งใจทำงานกลุ่มช่วยกันคิดช่วยกันทำทำให้งานของทุกลุ่มออกมาดี ตั้งใจออกมานำเสนองาน
อาจารย์ : มีวิดิโอตัวอย่างมาให้ดูก่อนที่อาจารย์จะสอนเทคนิคต่างในการเป็นครูที่ดี เพื่อที่จะให้ไปปรับใช้ได้ในอนาคต บอกถึงการประเมินผลงานของเด็กว่าเราควรจะดูจากอะไรบ้าง มีการสอดแทรกความรู้ใหม่ๆที่ไปใช้ได้ในอนาคต เข้าถึงนักศึกษาดีและเอาใจใส่ ชอบเล่นมุขที่ไม่ฮาพานักศึกษาเครียด 5555