วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ฤกตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30 - 10.10 ห้อง 441
ความรู้ที่ได้รับ
              วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมศิลปะ โดยให้สร้างสรรค์ชิ้นงาน 10 ชิ้น โดยแบ่งเป็นงานเดี่ยว 7 ชิ้น และงานกลุ่ม 3 ชิ้น ดังต่อไปนี้
ชิ้นงานที่ 1 : วาดภาพอิสระด้วยสีเทียน
  • วาดภาพโดยไม่ใช้ดินสอร่างก่อน ให้ใช้สีเทียนวาดลงไปเลยตามจินตนาการ
ชิ้นงานที่ 2 : ขูดสีตามจินตนาการ 
  • ตอนแรกลงสีเทียนแต่ละสีตามใจชอบโดยจะระบายแนวไหนก็ได้และนำสีชอล์ก เช่น สีดำ สีน้ำตาล สีน้ำเงิน หรือสีเข้มๆมาระบายทับสีเทียนที่ระบายไว้ จากนั้นนำไม้จิ้มฟัน ตะปู มาขูดสีให้เกิดรูปภาพตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
ชิ้นงานที่ 3 : ฝนสีให้เกิดภาพ
  • นำแม่แบบที่เป็นกระดาษทรายมาไว้ด้านล่างกระดาษA4 จากนั้นนำสีเทียนแต่ละสี หรือสีที่ตนเองชอบมาฝนบนกระดาษA4 ทำให้เกิดรูปภาพแบบรูปแม่แบบที่เราเลือก 
ชิ้นที่ 4 : ประดิษฐ์ภาพจากกระดาษทราย
  • นำกระดาษทรายอย่างหยาบมาและวาดรูปที่เราชอบลงบนกระดาษทราย จากนั้นตัดกระดาษทรายออก และติดส่วนประกอบให้ครบสมบูรณ์ (งานชิ้นนี้ยังสามารถนำไปใช้ในงานฝนสีให้เกิดภาพได้ด้วย)
ชิ้นงานที่ 5 : บาติกกระดาษ
  • นำสีเทียนมาวาดภาพบนกระดาษตามจินตนาการโดยวาดแต่โครงร่างไม่ต้องระบายสี พอวาดเสร็จให้ขย้ำกระดาษให้ยับที่สุด จากนั้นนำสีน้ำมาระบายรูปภาพของเราให้ทั่วกระดาษ มันจะออกมาเหมือนรูปภาพบาติก
ชิ้นงานที่ 6 : สีเทียน + สีน้ำ
  • นำสีชอล์กสีอ่อน เช่น สีขาว สีเทา สีเนื้อ มาวาดโครงร่างลงบนกระดาษโดยไม่ต้องระบายสี จากนั้นใช้สีน้ำมาระบายรูปภาพที่เราวาด ระบายหลายๆสีก็ได้ ไม่จำเป็นต้องระบายสีเดียวกัน
ชิ้นงานที่ 7 : ปั้นดินเหนียว
  • ปั้นดินเหนียวเป็นอะไรก็ได้ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
บรรยากาศในการปั้นดินเหนียว
ชิ้นงานที่ 8 : เพ้นท์ผ้าจากสีเทียน (งานกลุ่ม)
  • นำสีชอล์กวาดภาพลงในผ้าดิบและช่วยกันระบายสีให้สวยงาม พอระบายสีเสร็จนำกระดาษหนังสือพิมพ์มาปิดทับบนผ้าและใช้เตารีดรีดลงบนกระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อให้น้ำมันจากสีชอล์กนั้นระเหยออก (ถ้าเด็กทำ ในขั้นตอนนี้ควรให้ครูหรือผู้ปกครองทำให้ดีกว่า เพราะอาจจะเกิดอันตรายกับเด็กได้ถ้าเด็กทำเอง) จากนั้นลองดูว่าสีชอล์กเป็นเนื้อเดียวกับผ้าหรือยังถ้ายังก็รีดต่ออีกหน่อยให้สีชอล์กเป็นเนื้อเดียวกับผ้า
ชิ้นงานที่ 9 : สีเทียนร่วมใจ (งานกลุ่ม)
  • นำสีเทียน 3 สี โดยที่ไม่ใช่สีเดียวกันมามัดรวมกันและวาดรูปตามจินตนาการและความความคิดสร้างสรรค์
ชิ้นงานที่ 10 : ฝนสีจากวัสดุต่างๆ (งานกลุ่ม)
  • นำเศษวัสดุต่างๆที่เราต้องการ เช่น ใบไม้แห้ง ก้อนหิน พื้น เหรียญต่างๆ มาวางข้างล่างกระดาษและใช้สีเทียนฝนให้เกิดลวดลายตามจินตนาการและตามความต้องการของเรา

การนำความรู้ไปใช้
1. สามารถนำกิจกรรมต่างๆที่ได้ทำ ไปให้เด็กได้ทำเพื่อพัฒนาความคิดสร้างวรรค์และจินตนาการให้กับเด็ก และเพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็กให้กับเด็กในกิจกรรมการปั้นเด็กเหนียวอีกด้วย 
2. สอนให้เด็กรูจักสี เส้น พื้นผิว ต่างๆ ในกิจกรรมฝนสีให้เกิดภาพ หรือจะเป็นการฝึกการทำงานเป็นกลุ่มให้กับเด็ก ให้เด็กได้มีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนผ่านกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ต่างๆ

ประเมินหลังการเรียนการสอน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ช่วงแรกมีความตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำแต่ช่วงหลังเริ่มไม่ค่อยสนใจ มันเริ่มเหนื่อย ล้าาา เลยไม่ค่อยมีสมาธิในการทำงานสักเท่าไหร่
เพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา มีความตั้งใจทำกิจกรรมกันทุกคน มีอาการเหนื่อยล้าบ้างช่วงหลังๆ แต่ก็สามารถทำกิจกรรมให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
อาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมและเทคนิคต่างๆเกี่ยวกับศิลปะสร้างสรรค์มาให้ทำหลากหลายกิจกรรม เรียกได้ว่าเน้นๆแน่ๆ เลยค่ะ อาจารย์เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาครบถ้วนบอกเทคนิคต่างๆเกี่ยวกับการทำงานศิลปะแต่ละชิ้นแบบละเอียดและสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 4

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ฤกตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30 - 10.10 น. ห้อง 441
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เรียนเรื่อง วัสดุ อุปกรณ์ สหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย

วัสดุ คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป เช่น กระดาษ สี กาว ฯลฯ
     วัสดุที่ใช้ในการทำผลงานทางศิลปะอาจเป็นวัสดุที่มีขายทั่วไปหรือเป็นวัสดุจากธรรมชาติ หรือที่มีในท้องถิ่น และเหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของเด็ก หลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นอันตรายต่อเด็ก เช่น วัสดุที่มีปลายแหลมคม แตกหักง่าย ภาชนะที่บรรจุสารเคมี หรือน้ำยาต่างๆ
วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย
- กระดาษ : เป็นวัสดุที่สามารถนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะได้อน่างกว้างขวาง เพราะ หาง่าย ราคาไม่แพง เช่น กระดาษวาดเขียน กระดาษปรู๊ฟ กระดาษโปสเตอร์สีต่างๆ กระดาษมันปู กระดาษจากนิตยาสารที่ใช้แล้ว
**การนำกระดาษมาใช้กับเด็กครูควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้งานของกิจกรรมนั้นๆ
  • กระดาษวาดเขียน >>> ที่เรียกเป็นปอนด์ มี 60 80 100 ใช้ได้ดีกับงานวาดรูประบายสี (มีอย่างหยาบและบาง)
  • กระดาษโปสเตอร์ >>> ที่งทั้งชนิดหน้าเดียวและสองหน้า สีสดใส หลากสี ราคาค่อนข้างแพง ใช้ในงานตัด ประดิษฐ์เป็นงานกระดาษสามมิติ (โปสเตอร์สีหน้าเดียวอย่างบางเหมาะสำหรับฉีก-ปะ ส่วนโปสเตอร์สร 2 หน้าเหมาะสำหรับงานพับที่เป็น 3 มิติ)
  • กระดาษมันปู >>> เป็นกระดาษผิวเรียบมันด้านหนาด้านหลังเป็นสีขาว มีสีทุกสี เหมาะกับการทำศิลปะประเภทฉีก ตัด พับ ปะกระดาษ
  • กระดาษนิตยสาร >>> เป็นกระดาษที่เหมาะสมในการนำมาช้กับเด็กเล็กๆ เพราะไม่ต้องซื้อหา ซึ่งสามารถใช้แทนกระดาษมันปูได้เป็นอย่างดี
  • กระดาษหนังสือพิมพ์ >>> เป็นกระดาษที่ใช้ได้เช่นเดียวกับกระดาษนิตยสาร แต่จะบางกว่าแต่หมึกอาจจะเลอะมือเด็กได้มากกว่า **ข้อดีของหนังสือพิมพ์ เอามาใช้ในการรองในการทำกิจกรรมหรือรองผลงานเด็ก
สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย
- สี : เป็นวัสดุที่ดึงดูดความสนใจของเด็กเป็นอย่างมาก สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย เช่น สีเทียน สีฝุ่น สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร สีจากธรรมชาติต่างๆ
  • สีเทียน (Caryou) >>> ควรเลือกชนิดที่มีเนื้อสีมากกว่าเนื้อเทียน มีสีสด แท่งโต เพื่อเด็กหยิบจับถนัดมือกว่าแท่งเล็กและไม่หักง่าย ถ้าไม่มีสีขาวจะดีกว่า เพราะเด็กใช้สีขาวน้อย
  • สีชอล์กเทียน (Oil pasteal) >>> เป็นสีที่ราคาแพงกว่าสีเทียนธรรมดา เมื่อระบายสีด้วยสีชนิดนี้แล้วสามารถใช้เล็บ นิ้วมือ หรือกระดาษทิชชู่ตกแต่งเกลี่ยสีให้เข้ากันคล้ายรูปที่ระบายสีด้วยสีน้ำมัน **ไม่เหมาะสมกับเด็กอนุบาล
  • สีเทียนพลาสติก (Plastic crayon) >>> ทำเป็นแท่งเล็กๆแข็ง มีสีสดหลายสีใช้ระบายสีง่าย เหลาได้เหมือนดินสอ จึงสามารถระบายในส่วนที่เป็นรายละเอียดได้และสามารถใช้ยางลบธรรมดาลบบางส่วนที่ไม่ต้องการออกได้ แต่มีราคาแพงมาก **ดีกว่าสีชอล์กและสีไม้
  • สีเมจิ (Water color) >>> ด้ามปากกามี 2 ชนิด คือชนิดปลายแหลมและปลายตัด เหมาะสำหรับการขีดเขียนลายเส้น หรือการเขียนตัวหนังสือ เด็กเล็กๆจะชอบเพราะใช้สะดวก สีสดแห้งเร็ว ถ้าเปื้อนล้างออกง่าย
  • ปากกาปลายสักหลาด (Felt pen) >>> บางทีเรียก ปากกาเคมี ไม่เหมาะในการระบายพื้นที่กว้าง ถ้าทิ้งไว้นานๆสีจะซีดเร็ว ควรให้เด็กสวมปอกปากกาทุกครั้งที่เขียนเสร็จ
  • ดินสอ (Pencil) >>> ดินสอไม่เหมาะสำหรับงานศิลปะของเด็ก
  • ดินสอนสี (Color pencil) >>> เหมาะสำหรับเด็กโตๆมากกว่าเด็กเล็กๆ เพราะ หัก ทู่ง่าย ต้องเหลาบ่อยๆมีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับสีเทียนหรือสีผสมน้ำ   
สีที่ต้องผสมน้ำหรืเป็นน้ำ
- สีประเภทนี้ ได้แก่ สีฝุ่น สีน้ำ สีโปรเตอร์ สีผสมอาหาร สีพลาสติกผสมน้ำ ฯลฯ สีแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะ
  • สีฝุ่น(Tempera) >>> เป็นสีผง ทึบแสง มีหลากสี ใช้ผสมน้ำให้ใสข้นเป็นครีมอาจผสมกาวหรือแป้งเปียก เวลาใช้ต้องผสมของเหลวที่เหมาะสม นากจากน้ำแบ้วก็มีน้ำนม น้ำแป้งและน้ำสบู่ **ปลอดภัยต่อเด็ก
  • สีโปสเตอร์ (Poster color) >>> ลักษณะคล้ายครีมมีราคาแพงกว่าสีฝุ่นเป็นสีที่เด็กๆใช้ง่าย แต่ถ้าต้องการสีอ่อนๆจะผสมน้ำไม่ได้ จะต้องใช้สีขาวผสมจะได้สีอ่อนระบายได้เรียบ
  • สีน้ำ (Water color) >>> เด็กเล็กๆมักจะไม่ค่อยชอบใช้สีน้ำ เพราะเด็กช่วงนี้หากใช้สีน้ำในช่วงนี้เด็กจะต้องคอยใช้พู่กันกับจานสีอยู่เสมอจึงวาดได้ ทำให้กระดาษเป็นรอยจุดๆ เส้นต่างๆจะไหลไปถึงกัน ทไให้ภาพไม่ชัดเจน
  • สีพลาสติก (Plstic or acrylic) >>> บรรจุในกระป๋องหลายขนาด และแบบในหลอด เพมาะกับงานใหญ่ที่ไม่ต้องใช้รายละเอียดมากนัก สามารถใช้แทนสีฝุ่นหรือสีน้ำได้ ข้อเสียคือ แปรงหรือพู่กันจะต้องจุ่มในน้ำไว้เสมอขณะทีพักการใช้ชั่วคราว เนื่องจากสีมีคุณสมบัติแห้งแร็วจะทำให้พู่กันหรือแปรงแข็งใช้ไม่ได้
  • สีจากธรรมชาติ >>> สีจากธรรมชาติบางชนิดก็อาจะเป็นอันตรายที่เกิดจากอาการแพ้รูปแบบต่างๆ ** ข้อเสีย สีไม่สดออกมืดๆ
วัสดุในการทำศิลปะ
  • กาว >>> เรียกว่า แป้งเปียก ราคาถูกใช้ทาได้ง่ายกว่ากาวชนิดอื่นๆ กาวแป้งเปียกเหมาะสำหรับเด็กมากที่สุด **กาวตาช้าง กาวร้อน เด็กใช้ได้แต่ครูต้องเป็นคนทำให้
  • ดินเหนียว >>> ขุดหาได้ทั่วไป มีความนิ่มเหนียว นำมาใช้ปั้นตากแห้งหรือเผาเป็นเครื่องปั้นดินเผาได้ (สะอาด)
  • ดินน้ำมัน >>> เป็นดินที่มีส่วนผสมของน้ำมันผสมอยู่ มีกลิ่นแรงเนื้อนิ่มเมื่อโดนความร้อนเหนียวติดมือไม่เหมาะสมกับเด็กอนุบาล
  • ดินวิทยาศาสตร์ >>> เรียกอีกอย่างว่า แป้งโด ไม่เหนียวติดมือเหมือนดินน้ำมันและมักจะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเจือปน จึเหมาะสมสำหรับเด็ก
อุปกรณ์ที่ใช้ในงานศิลปะ
- อุปกรณ์ : เครื่องมือที่ใช้ในการทำงานเป็นสิ่งที่ไม่หมดเปลืองไป แต่มีอายุในการใช้งานยืนนานตามชนิดหรือคุณภาพของสิ่งๆนั้น **คงทน,ยังอยู่
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
- สี : เป็นองค์ประกอบของศิลปะที่มีอิธิพลต่อความรู้สึกมากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น
- สี : เป็นวัตถุที่ได้จากธรรมชาติหรือจากที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา
  • สีจากธรรมชาติ : สีของดอกไม้ ใบไม้ ผล ราก ลำต้น
  • สีจากการสังเคราะห์ขึ้นมา : สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีอะคริลิก สีฝุ่น สีน้ำมัน สีทาบ้าน สีพลาสติก
ทฤษฎีสี (Theorym of colors)
สีคู่ปฎิปักษ์ หรือ สีที่ตัดกัน
อิทธิพลของสีที่ให้ความรู้สึก
             หลังเรียนเสร็จอาจารย์ได้ให้ใบงานกลับไปทำเป็นการบ้าน 2 ชิ้น คือ ร่างต่อจุดภาพ ชิ้นแรกเป็นสิ่งไม่มีชีวติ ส่วนชิ้นที่ 2 เป็นชิ้นมีชีวิต
ชิ้นที่ 1สิ่งไม่มีชีวิต
ชิ้นที่ 2 สิ่งมีชีวิต

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558
เวลาเรียน 12.20 - 15.00 น, ห้อง 233
     วันนี้อาจารย์ให้นำผลงานทั้งหมดมาแปะไว้หน้าห้อง เพื่อแสดงผลงานให้เพื่อนๆดู มีผลงานทั้งหมด 5 ชิ้น ได้แก่
  1. วาดภาพต่อเติม
  2. ออกแบบลวดลาย
  3. เติมลวดลายลงในภาพวาด
  4. ร่างต่อภาพจุดสิ่งมีชีวิต
  5. ร่างต่อภาพจุดสิ่งไม่มีชีวิต

รวมผลงานของเพื่อนๆทุกคน
หลังจากนำผลงานของเพื่อนๆมาแสดงเสร็จครบทุกคนแล้ว อาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดของชิ้นงานแต่ละชิ้นให้ฟังและบอกเทคนิคต่างๆ เช่น

       วาดภาพต่อเติม >>> เด็กจะวาดต่อเติมจากสิ่งที่เด็กชอบ และจากประสบการณ์เดิมที่เด็กได้เจอ เด็กจะวาดออกมาจากจินตนาการของเขาเอง อะไรที่เด็กชอบเด็กจะทอดถ่ายออกมาผ่านทางงานศิลปะ
       ออกแบบลวดลาย >>> ออกแบบลวดลายเพื่อให้เป็นการรู้ว่าในการวาดภาพนั้นไม่ได้มีเพียงเส้นตรงอย่างเดียว มีทั้งเส้นโค้งต่างๆ เส้นที่ออกแบบนั้นไม่มีผิดไม่ถูกอยู่ที่จินตนาการและการออกแบบ
       เติมลวดลายลงในภาพวาด >>> พอเราวาดโครงร่างเสร็จแล้วก็เอาลวดลายมาใส่ลงไปในภาพวาดในความเป็นจริงเส้นต่างๆมันไม่ช่ายแบบนี้ แต่ในทางศิลปะเราสามารถแต่แต้มเติมลงไปได้ เพราะฉะนั้นการแต่งแต้มจินตนาการหรือใส่พวกเส้น ใส่พวกลายต่างๆลงไปเหมือนกับว่าเราสร้างจินตนาการขึ้นมา
       ร่างต่อจุดสิ่งไม่มีชีวิต >>> เราได้ต่อเติมแต่แต้มจากจุดธรรมดาให้เป็นรูปภาพ จุดต่างๆเหล่านี้บางอย่างคล้ายของจริง เช่น บ้าน ส่วนรูปบางรูปดูยากอาจไม่คล้ายของจริง
       ร่างต่อจุดสิ่งมีชีวิต >>> สิ่งมีชีวิตบางอย่างดูยากมาก เพราะว่ามันไม่เหมือนของจริงเลย บางคนวาดชิ้นเดียว บางคนวาดหลายชิ้น ไม่เป็นเรื่องผิดแต่ต้องสื่อออกมาทำอะไรอธิบายชิ้นงานของตนเองได้
      ** อาจารย์ให้ทำชิ้นงานทั้งหมดเพราะว่า อยากให้ต้องการรู้จักเส้นศิลปะต่างๆเราต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเส้น การใช้เส้นจากเส้นหนึ่งไปยังอีกเส้นหนึ่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งมันมีความหมาย ทำให้เกิดรูปภาพทำให้เกิดเรื่องราวต่างๆภาพบางภาพไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง อาจจะเป็นเส้นซิกแซก เพราะฉะนั้นชิ้นงานทั้งหมดนี้เป็นแค่พื้นฐานที่ทำให้เรามีความสามารถในการวาดภาพ

การนำความรู้ไปใช้
1. สามารถนำเทคนิคต่างๆที่อาจารย์บอกไปใช้ได้ในอนาคต
2. สามารถนำงานศิลปะต่างๆไปให้เด็กได้ทำเพื่อเสริมเสร้างจินตนาการ

ประเมินหลังการเรียนการสอน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ทำงานอย่างมีตั้งใจ มีการจดบันทึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคที่อาจารย์บอก
เพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำงานเป็นอย่างดี การบางส่วนคุยกันบ้าง ส่วนมากตั้งใจฟังและมีการจดบันทึกเพิ่มเติม
อาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา มีความตั้งใจในการสอน มีความสนุกสนาน เตรียมการสอนมาอย่างดีรายละเอียดของเนื้อหาครบถ้วนมีกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปะมาให้ทำที่หลากหลาย


วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันพุธที่ 28 มกราคม 2558
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 08.30 - 10.10 น. ห้อง 441
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เรียนเรื่อง หลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

กิจกรรม คือสิ่งที่จัดให้กับเด็ก ประสบการณ์ คือสิ่งที่เด็กจะได้รับคบทั้ง 4 ด้าน
อาจารย์มีรูปภาพที่เกี่ยวกับศิลปะมาให้ดูก่อนเรียน
ภาพแต่ละภาพถ้ามองในมุมของศิลปะทุกอย่างสามารถเป็นไปได้หมด ผลงานศิลปะขึ้นอยู่ที่มุมมองของเราเพราะแต่ละคนมีมุมมองทางศิลปะไม่เหมือนกัน 
            - ความสำคัญของศิลปะ : ศิลปะเป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะศิลปะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีประสบการณืที่หลากหลาย เช่น
  • ประสบการณ์ด้านการสำรวจ ตรวจสอบ (สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว)
  • ประสบการณ์ด้านวัสดุ - อุปกรณ์ (เรียนรู้การใช้เครื่องมือต่างๆ)
  • ประสบการณ์ด้านความรู้สึก และการใช้ประสาทสัมผัส
** ประสบการณ์เหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรงที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เผชิญกับความจริงที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช สถานที่และเหตุการณ์ต่างๆ
            - จุดมุ่งหมายในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย : **การสอนศิลปะเด็กไม่ใช่การสอนให้เด็กวาดรูป การสอนศิลปะเด็กเป็นการปลูกฝังนิสัยอันดีงาม ละอียดละอ่อนและให้มีความพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับสูงต่อไป มีจุดมุ่งหมายเพื่อ
  • ฝึกทักษะการใช้มือและเตรียมความพร้อม ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์+ความสามารถของเด็กแต่ละบุคคล
  • พัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและบุคลิกภาพ
  • ปลูกฝังค่านิยมเจตคติและคุณสมบัติที่ดีของศิลปะและวัฒธรรมไทย
  • ฝึกให้เด็กได้เริ่มต้นเรียนรู้การใช้เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานศิลปะตลอดจนรู้จักเก็บรักษาและทำความสะอาดอย่างถูกต้อง
  • ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม
  • เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกอย่างอิสระ ผ่อนคลาย สนุกสนานและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  • นำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
           - บทบาทของครูศิลปะ :  ครู คือบุคคลสำคัญที่สุดในการจัดการเรียนการสอนศิลปะ
  • เป็นผู้สร้างบรรยากาศ (ในการประดิษฐ์ คิดค้น และผลิตผลงาน)
  • เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน (พูดคุย ชักจูง เร้าความสนใจ ให้กำลังใจ)
  • เป็นผู้ดูแลเด็กให้สร้างสรรค์งาน (ให้ความรัก ความอบอุ่น เป็นกันเอง และคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ)
  • เป็นต้นแบบที่ดี (สาธิตวิธีการที่ถูกต้อง ไม่เผด็จการ ส่งสเริมการกล้าคิดกล้าตัดสินใจ)
  •  เป็นผู้อำนวยความสะดวก (จัดเตรียมวัสดุ - อุปกรณ์ รูปแบบศิลปะหลากหลาย)
           - ข้อควรคำนึงในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย 
  • หลีกเลี่ยงการให้แบบ การวาดภาพตามรอยปะ หรือใช้สมุดภาพระบายสีเพราะทำให้เด็กสูญเสียความคิดสร้างสรรค์
  • ต้องช่วยพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองให้ให้แก่เด็กให้เด็กความภาคภูมิใจ ใช้คำพูดทางบวก เช่น หนูทำได้...ลองทำดูสิ
  • ไม่มีบีบบังคับหรือคาดคั้นเอาความมหายจากภาพให้เด็กพูดคุยอย่างสบายใจและเข้าใจผลงานของตนเอง
  • ไม่แก้ไขหรือช่วยเด็กทำผลงานเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์และผู้ช่วยเหลือ
  • ไม่วิจารณ์งานศิลปะเด็กและมีวิธีการประเมินที่เหมาะสม
  • มีส่วนในการช่วยให้ผู้ปกครองเห็นคุณค่าของงานเด็ก
  • มีส่วนช่วยขยายประสบการณ์ทางศิลปะของเด็กไม่อยู่แต่ในห้องเรียนควรพาเด็กออกสำรวจ สัมผัส สังเกต ทัศนศึกษาเยี่ยมชมงานศิลปะตามแหล่งต่างๆ
            - การเตรียมการสำหรับการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย 
  • การสร้างข้อตกลงและระเบียบการใช้วัสดุ อุปกรณ์
  • การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอ
  • การจัดวางวัสดุ อุปรกรณ์ให้สะดวกแก่การใช้งาน
  • การจัดเตรียมเครื่องมือรักษาความสะอาด (ฟองน้ำ ผ้าเช็ดมือ ถังขยะ ถังน้ำ)
  • การจัดเตรียมพื้นที่ในการทำงานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ
  • การจัดเก็บผลงาน/การจัดสถานที่แสดงผลงาน 
            - ลำดับขั้นตอนการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย 
  • เลือกเรื่องที่จะสอน
  • กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอน
  • เตรียมการก่อนสอน >>> เตรียมแผนการสอน,เตรียมอุปกรณ์การสอน
  • ทดลองและตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนลงมือสอนจริง
  • ทำการสอนจริงตามแผน
  • เตรียมตัวเด็กให้พร้อมก่อนการลงมือทำผลงาน เช่น แบ่งกลุ่มเด็ก
  • การปฎิบัติงานของเด็ก โดยมีครูเป็นผู้ดูแล แนะนำ ช่วยเหลือตลอดจนเขียนชื่อและจดบันทึกข้อมูล
  • การเก็บการรักษา และการทำความสะอาด
  • การประเมินผลงานเด็ก
           - เทคนิควิธีการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย : เข้าถึง,เข้าใจ,ให้ความรัก,สร้างสรรค์บรรยากาศ,มีระเบียบวินัย,ปลอดภัย


**หมายเหตุ : วันพฤหัสบดีที่ 29 งดการเรียนการสอน อาจารย์เลยใหัใบงานไปทำเป็นการบ้าน 3 ใบ

ใบงานที่ 1 วาดภาพต่อเติมจากเส้นที่กำหนดให้พร้อมตกแต่งและระบายสีให้สวยงาม

ใบงานที่ 2 วาดลวดลายที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละช่อง

ใบงานที่ 3 วาดโครงร่างที่ชอบ และออกแบบลวดลายตามจิตนาการพร้อมระบายสี

การนำความรู้ไปใช้
1. สามารถนำกิจกรรมต่างๆไปให้เด็กทำได้ในอนาคต
2. สามารถนำความรู็เรื่อง บทบาทครูไปประยุกต์ใช้กับเด็กตามสถานณ์ต่างๆ
3. สามารถสอนเด็กให้เรียนรู้เรื่อง เส้น ลวดลาย ต่างๆได้

ประเมินหลังการเรียนการสอน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนมีจดเนื้อหาเพิ่มเติม ตั้งใจทำใบงานที่อาจารย์ให้มาให้ออกมาสวยงาม
เพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา ไม่คุยกันขณะที่อาจารย์สอน ตั้งใจเรียนมีจดเนื้อหาเพิ่มเติม สนใจทำกิจกรรมภายในห้องเรียนดี
อาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลาเป๊ะมากกก เตรียมตัวและตั้งใจในการสอนมีการเตรียมอุปกรณ์มาครบถ้วน มีตัวอย่างภาพเติมลวดลายของรุ่นพี่มาให้ดูเพื่อเป็นแนวทางในการทำใบงาน